MacroPore Biosurgery International Products
Search Contact Us Site Map Help
International Products
EU - British
EU - French
EU - German
EU - Italian
EU - Spanish
Thailand - Thai
 SurgiWrapi"
   - Indications
 CardioWrapi"
South Korea - Korean
USA Products & Services
Home » International Products » Thailand - Thai » SurgiWrapi"
เซอร์จิแร็พi" แผ่นฟิล์มป้องกันการเกาะติดกันของแผลผ่าตัดชนิดย่อยสลายทางชีวภาพ

SurgiWrap Logo
เซอร์จิแร็พi" แผ่นฟิล์มป้องกันการเกาะติดกันของแผลผ่าตัดชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพ การแก้ปัญหาด้วยแผ่นฟิล์มเนื้อบางชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

เซอร์จิแร็พi" แผ่นฟิล์มเนื้อบางชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จะช่วยให้ศัลยแพทย์มีเครื่องมือชนิดที่สามารถย่อยสลายได้โดยกระบวนการทางชีวภาพในการป้องกันการเกาะติดกันของแผลผ่าตัดที่เกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัด ซึ่งนำมาใช้ได้กับศัลยกรรมการผ่าตัดทั่วไป รวมทั้งทางสูติและนรีเวชวิทยา การเกาะติดกันของแผลผ่าตัดทำให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ เช่น สำไส้อุดตัน อาการปวดรุนแรงในอุ้งเชิงกราน และการเป็นหมัน เซอร์จิแร็พi" แผ่นฟิล์มเนื้อบางชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จะช่วยในการผ่าตัดซ้ำ โดยการทำให้เกิดรอยแนวสำหรับการผ่าตัด

"การเกาะติดกัน(ของเนื้อเยื่อ)ร้อยละ 79 ถึง 92 เป็นการเกาะติดกันที่เกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัด"
(วารสารศัลยกรรมแห่งยุโรป พ.ศ.2540)

คำอธิบาย การเกาะติดกันของบาดแผลผ่าตัด


จากการค้นคว้าวิจัยซึ่งรวบรวมมาจากการศึกษาในห้องทดลองตลอดระยะเวลากว่า 4 ปี ได้แสดงให้เห็นว่า นอกจากแผ่นฟิล์มเนื้อบางที่ย่อยสลายได้นี้จะช่วยเสริมความแข็งแรงของเนื้อเยื่อแล้ว แผ่นฟิล์มนี้ยังสามารถทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันการก่อเกิดตัวของแผงที่เป็นเนื้อเส้นใย  อันเป็นสาเหตุของการเกาะติดกันของแผลผ่าตัด  การเกิดแผลเป็นในลักษณะดังกล่าวได้เป็นปัญหามาช้านานแล้วในการผ่าตัดแทบทุกประเภท  โดยมักจะไปทำให้เกิดอาการเจ็บหรือปวดอย่างรุนแรงและส่งผลให้การทำงานบางอย่างทางกายวิภาคของร่างกายบกพร่อง เช่น ไปกีดขวางลำไส้ หรือทำให้เกิดการเป็นหมันในสตรี คนไข้หลายรายจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดซ้ำเพื่อตัดแผงเนื้อเส้นใยที่ทำให้เกิดการเกาะติดกันและก่อให้เกิดผลเสียออก แต่ในระยะยาวแล้วพบว่าไม่ได้ผลดีเท่าไรนัก

Soft tissue trauma results in adhesion formation. SurgiWrapi(tm) Bioresorbable Adhesion Barrier Film controls adhesion formation.
1. การตอบสนองของเซลล์ต่อบาดแผล – หลังจากที่เกิดบาดแผล ฐานไฟบรินจะเริ่มก่อตัวขึ้น  ต่อมาเซลล์ที่กลายเป็นเนื้อเส้นใย   เส้นไฟบรินและสารฮิสตามีนจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ

2. การเกิดการเกาะติดกัน – แถบไฟบรินจะก่อตัวขึ้นระหว่างเนื้อเยื่อทั้งสองข้าง และเมื่อเกิดการเกาะติดกัน แถบดังกล่าวจะไปดึงเนื้อเยื่อโดยรอบให้เข้ามาหากัน ก่อให้เกิดผลไม่พึงปรารถนาต่างๆ

3. วิธีแก้ไขโดยใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ –ใช้แผ่นฟิล์มที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพมาติดลงบนบาดแผล เพื่อป้องกันการเกาะติดกันของแผลผ่าตัด และเพื่อทำให้มีรอยแนวสำหรับการผ่าตัดซ้ำ

การนำไปใช้กับเนื้อเยื่ออ่อน

เซอร์จิแร็พi" แผ่นฟิล์มป้องกันการเกาะติดกันของแผลผ่าตัดชนิดย่อยสลายทางชีวภาพ ยังสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้เมื่อจำเป็นที่จะต้องเสริมหรือยึดบาดแผลเป็นการชั่วคราว และเสริมความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่ออ่อนที่ไม่สมบูรณ

SurgiWrapi(tm) Bioresorbable Adhesion Barrier Film is used for surgical soft tissue applications.
1. แผ่นฟิล์มนี้ยังสามารถใช้เสริมหรือยึดเนื้อเยื่ออ่อนในการผ่าตัด รวมทั้งการผ่าตัดซ่อมที่ลำไส้ใหญ่

2. เซอร์จิแร็พi" ยังใช้ได้ในการแก้ไขความผิดปกติในอุ้งเชิงกราน  การผ่าตัดแก้ไขการยื่นย้อยของช่องคลอด และ การผ่าตัดรั้งช่องคลอดในบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ (sacral colposuspension)

3. แผ่นฟิล์มชนิดนี้ยังสามารถนำมาใช้เป็นตัวเชื่อมชั่วคราวสำหรับเนื้อเยื่ออ่อน เช่นในการผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อน และความบกพร่องอื่น ๆ ของพังผืด

ข้อดีของแผ่นฟิล์มเนื้อบางชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

- เป็นแผ่นโปร่งใส มีเนื้อบางเฉียบ ซึ่งทำให้ใช้ระหว่างการผ่าตัดได้ง่ายขึ้น และสามารถเปลี่ยนย้ายที่ติดได้ โดยไม่ไปบดบังภาพของเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใต้แผ่น

- มีความทนทาน สามารถคงสภาพอยู่ได้สูงสุดนานถึง 8 สัปดาห์ ป้องกันการเกาะติดกันตลอดช่วงเวลาที่สำคัญของการฟื้นฟูสภาพของบาดแผล

- ทำจากวัสดุที่เข้ากันได้กับสิ่งมีชีวิต สลายได้โดยกระบวนการชีวภาพ ทำให้ร่างกายดูดซึมและย่อยสลายได้อย่างปลอดภัย โดยมีความเสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบน้อยมาก

- ไม่มีองค์ประกอบหรือส่วนประกอบที่มาจากมนุษย์หรือสัตว์ จึงไม่เสี่ยงต่อการติดต่อโรคหรือเชื้อโรค

- มีความสามารถในการลดปริมาณการเกาะติดของแผลผ่าตัด และมีความทนทาน ทำให้สามารถลดเวลาในการผ่าตัดและทำให้การผ่าตัดซ้ำในเวลาต่อมาทำได้ง่ายขึ้น

เซอร์จิแร็พi" เป็นเครื่องหมายการค้าที่ใช้ในสหรัฐของบริษัทแม็คโครพอร์  ไบโอเซอร์เจอรี จำกัด


Back to Top
Home | About Us | Research & Technology | Resource Center
Investor Information | Physician Information | Patient Information
Search | Contact Us | Site Map | Help | Privacy & Terms of Use
© 2003 MacroPore Biosurgery