MacroPore Biosurgery International Products
Search Contact Us Site Map Help
International Products
EU - British
EU - French
EU - German
EU - Italian
EU - Spanish
Thailand - Thai
 SurgiWrapi"
 CardioWrapi"
   - Techniques
   - Indications
South Korea - Korean
USA Products & Services
Home » International Products » Thailand - Thai » CardioWrapi"
คาร์ดิโอแร็พ" แผ่นฟิล์มป้องกันการเกาะติดกันของบาดแผลผ่าตัดชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

CardioWrap logo
"ร้อยละ 77 ของผู้ป่วยจำนวนประมาณ 6.4 ล้านคนที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด จำเป็นที่จะต้องใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับป้องกันการเกาะติดกันของบาดแผล"

(รายงานทางสถิติของศูนย์สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2539)

คาร์ดิโอแร็พ" แผ่นฟิล์มป้องกันการเกาะติดกันของบาดแผลผ่าตัดชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ข้อบ่งชี้ในการใช้แผ่นฟิล์มบางชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพในการผ่าตัดหัวใจและทรวงอก

แมคโครพอร์ไบโอเซอร์เจอรีมุ่งที่จะพัฒนาแผ่นฟิล์มสำหรับใช้ในการผ่าตัดที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพื่อที่ว่าศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอกจะได้มีทางเลือกใหม่ในการสมานของแผลผ่าตัด หลังการผ่าตัดหัวใจและทรวงอก การเกาะติดกันของบาดแผลและเนื้อเยื่อแผลเป็นที่ก่อตัวขึ้นภายหลังการผ่าตัดหัวใจและทรวงอกนี้จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญๆ หลายประการ และทำให้ต้องใช้เวลาในการผ่าตัดนานยิ่งขึ้น

คาร์ดิโอแร็พ"   แผ่นฟิล์มป้องกันการเกาะติดกันของบาดแผลผ่าตัดชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพ  จะทำหน้าที่เป็นเครื่องป้องกันการเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นภายใน และป้องกันการเกาะติดกันของเนื้อเยื่อหัวใจทั้งสองข้าง นอกจากนี้คาร์ดิโอแร็พ" ยังสามารถใช้ป้องกันการก่อตัว และการก่อตัวซ้ำของการเกาะติดกันในบริเวณเยื่อหุ้มหัวใจ ถุงหุ้มหัวใจและหลังกระดูกสันอก  รวมถึงช่วยให้มีรอยแนวสำหรับการผ่าตัดอีกด้วย

คำอธิบาย การเกาะติดกันของบาดแผลผ่าตัด

จากการค้นคว้าวิจัย ซึ่งรวบรวมจากการศึกษาในห้องทดลองตลอดระยะเวลากว่า 4 ปี ได้แสดงให้เห็นว่าแผ่นฟิล์มบางชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพนี้ นอกจากจะมีคุณสมบัติช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อแล้ว ยังเป็นเครื่องป้องกันการก่อตัวของแถบเส้นใยอันเป็นสาเหตุของการเกาะติดกันของบาดแผล การเกิดแผลเป็นในลักษณะดังกล่าวได้เป็นปัญหามาช้านานแล้วในการผ่าตัดแทบทุกประเภท  โดยมักจะไปทำให้เกิดอาการเจ็บหรือปวดอย่างรุนแรงและส่งผลให้การทำงานบางอย่างทางกายวิภาคของร่างกายบกพร่อง เช่น ไปกีดขวางลำไส้ หรือทำให้เกิดการเป็นหมันในสตรี คนไข้หลายรายจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดซ้ำเพื่อตัดแผงเนื้อเส้นใยที่ทำให้เกิดการเกาะติดกันและก่อให้เกิดผลเสียออก แต่ในระยะยาวแล้วพบว่าไม่ได้ผลดีเท่าไรนัก

Soft tissue trauma results in adhesion formation. Cardiowrapi(tm) Bioresorbable Adhesion Barrier Film controls postsurgical adhesions.
1. การตอบสนองของเซลล์ต่อบาดแผล – หลังจากที่เกิดบาดแผล ฐานไฟบรินจะเริ่มก่อตัวขึ้น  ต่อมาเซลล์ที่กลายเป็นเนื้อเส้นใย   เส้นไฟบรินและสารฮิสตามีนจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ

2. การเกิดการเกาะติดกัน – แถบไฟบรินจะก่อตัวขึ้นระหว่างเนื้อเยื่อทั้งสองข้าง และเมื่อเกิดการเกาะติดกัน แถบดังกล่าวจะไปดึงเนื้อเยื่อโดยรอบให้เข้ามาหากัน ก่อให้เกิดผลไม่พึงปรารถนาต่างๆ

3. วิธีแก้ไขโดยใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ –ใช้แผ่นฟิล์มที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพมาติดลงบนบาดแผล เพื่อป้องกันการเกาะติดกันของแผลผ่าตัด และเพื่อทำให้มีรอยแนวสำหรับการผ่าตัดซ้ำ

การนำไปใช้คลุมหรือปิดแผลบริเวณถุงหุ้มหัวใจและกระดูกสันอก

CardioWrapi(tm) Bioresorbable Adhesion Barrier Film is used to control postsurgical adhesion formation in cardiovascular applications.
1. คาร์ดิโอแร็พ" แผ่นฟิล์มป้องกันการเกาะติดกันของบาดแผลผ่าตัดชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพ สามารถนำไปใช้ปิดหรือคลุมพังผืดได้

2. แผ่นคาร์ดิโอแร็พ สามารถตัดตามขนาดที่ต้องการ และใช้ในระหว่างการผ่าตัดได้

[เชื่อมกับ 605K]

คาร์ดิโอแร็พ" เป็นเครื่องหมายการค้าที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาของบริษัทแมคโครพอร์ ไบโอเซอร์เจอรี่

หากต้องการดูแผ่นพับเกี่ยวกับคาร์ดิโอแร็พ" แผ่นฟิล์มป้องกันการเกาะติดกันของบาดแผลผ่าตัดชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพฉบับภาษาอังกฤษ โปรดดูที่คาร์ดิโอแร็พ" ข้อบ่งชี้ในการใช้เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจากประเทศต่างๆ ในยุโรป



หากต้องการดูข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเทคนิคการผ่าตัดโดยใช้ คาร์ดิโอแร็พ" แผ่นฟิล์มป้องกันการเกาะติดกันของบาดแผลผ่าตัดชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพ กรุณาคลิกที่จุดเชื่อม PDF    ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย CE  โปรดดูที่ คาร์ดิโอแร็พ" ข้อบ่งชี้ในการใช้เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจากประเทศต่างๆในยุโรป


Back to Top
Home | About Us | Research & Technology | Resource Center
Investor Information | Physician Information | Patient Information
Search | Contact Us | Site Map | Help | Privacy & Terms of Use
© 2003 MacroPore Biosurgery